เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร
“5 พฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงวัยต่อภาวะขาดสารอาหาร”
วันนี้หมอมาเล่าถึงภาวะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารในผู้สูงวัย ซึ่งมีความสำคัญที่ทุกๆท่านควรจะให้ความสำคัญและตระหนักภาวะขาดสารอาหาร
ซึ่งจะนำมาต่อเนื่องด้วยซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหามวลกล้ามเนื้อน้อยลง ปัญหาติดเชื้อในระบบต่างๆได้ง่ายเนื่องจากภูมิคุ้มกันลดลง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งมีดังนี้ครับ
1. เลือกกิน
เลือกรับประทานอาหารหรือเลือกไม่รับประทานอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ เช่น บางรายจะไม่รับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้เลย ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดพวกวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญ หรือในกลุ่มที่รับประทานแต่ผักอย่างเดียวไม่นิยมรับประทานเนื้อสัตว์เลย มีโอกาสที่จะขาดโปรตีนอันเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างและซ่อมแซมร่างกาย ซึ่งหมอคิดว่าควรจะได้รับอาหารทั้งห้าหมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม รวมถึงดื่มน้ำอย่างเพียงพอด้วยนะครับ
2. ละเลยสุขอนามัยช่องปาก
ท่านที่ไม่ดูแลสุขภาพช่องปาก ปล่อยให้ฟันแท้หลุดร่วงไป มีภาวะเหงือกอักเสบ และแม้ว่าจะไม่มีฟัน ก็ไม่มีฟันปลอมมาทดแทนในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอย่างมากเนื่องจากจะรับประทานอาหารได้ปริมาณน้อยและน้อยชนิด
ผู้สูงวัยหลายๆท่านมักจะมีปัญหาในการรับรสของลิ้นอยู่ ทำให้รู้สึกว่ารอาหารไม่อร่อย ทำให้เบื่ออาหารซึ่งจะเพิ่มโอกาสต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็นได้นะครับ
3. ตึงเครียด ซึมเศร้า
ท่านที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือภาวะเครียดในเวลานานๆ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแยกตัว ไม่สังคม และภาวะเบื่ออาหารตามมาได้
4. กินแต่ของเดิมๆ
กินอาหารประเภทเดิมๆชนิดเดิมๆซ้ำไปซ้ำมา เน้นเฉพาะอาหารที่รสจัด รสอร่อย ไม่รับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป รวมไปถึงอาหารหมักดองที่ผ่านการถนอมอาหารให้มีรสจัดจ้าน อร่อยถูกปาก หากรับประทานซ้ำๆเดิมๆบ่อยครั้ง ก็ขาดสารอาหารที่ครบถ้วน มีแต่รสดีแต่ไม่ค่อยมีประโยชน์ ก็คงจะไม่ดีต่อสุขภาพนะครับ
5. โรคบางอย่าง ยาบางชนิด
การที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง หรือการใช้ยาบางชนิดที่อาจจะส่งผลต่อความอยากอาหารที่ลดลง เช่นโรคมะเร็ง โรคทางเดินอาหารเรื้อรัง การติดเชื้อ ความเจ็บป่วยต่างๆที่เป็นเรื่อรัง การใช้ยาต่างๆเองมีอาการแทรกซ้อนของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียน มวนท้อง หรือท้องผูก รวมไปถึงโรค ประจำตัวที่ส่งผลต่อสมรรถภาพของร่างกายในการที่จะรับประทานอาหารเองได้ เช่น ท่านที่มีปัญหาอัมพฤกษ์อัมพาต แขนขาอ่อนแรงขยับได้น้อย หรือกลุ่มผู้สูงวัยที่มีภาวะพึ่งพา นอนติดเตียง ซึ่งผู้ดูแลต้องให้ความสนใจและใส่ใจในภาวะโภชนาการมากๆนะครับ
และอีกสาเหตุนึงที่เป็นปัญหาใหญ่ก็คือ ภาวะเบื่ออาหาร
หมอมักได้รับปรึกษาว่าเมื่อมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน อาจพบได้บ่อยว่าผู้สูงอายุที่มีอายุค่อนข้างมาก
" มักเบื่ออาหาร "
" ไม่อยากกินอะไร "
" ไม่อยากกินอะไร "
บางครั้งหิวก็กินได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ขาดสารอาหาร และเจ็บป่วยได้ง่าย
สาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร มีดังนี้ครับ
1. การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะร่างกาย
ความเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้เคี้ยวอาหารได้ยาก หรือกลืนอาหารลำบาก ระบบย่อยอาหารไม่ค่อยดี หรืออาจเกิดจากการที่ไม่สามารถเดินไปซื้ออาหารมากินเองได้
การแก้ปัญหา😇
สามารถทำได้โดยปรุงอาหารให้อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย และย่อยง่าย อาจดูแลเรื่องฟันปลอม และเหงือก ให้พร้อมใช้งานเสมอ นอกจากนี้ลูกหลานยังควรดูแลเรื่องการกินของผู้สูงอายุด้วย ควรจัดเตรียมอาหารให้พร้อม
2. สังคมและการใช้ชีวิต
สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้เรื่องของการซื้ออาหารลำบากมากขึ้น เนื่องจากข้าวของราคาแพง หรืออาจเกิดจากสภาพสังคมที่มักปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิด
การแก้ปัญหา😇
สามารถทำได้โดยใส่ใจผู้สูงอายุมากขึ้น จัดให้มีการดูแลเรื่องการกินในทุกมื้อ รวมถึงดูแลเรื่องสุขอนามัยต่างๆ
นอกจากนี้อาจเลือกซื้อวัตถุดิบไว้ในปริมาณมากๆ เพื่อนำมาปรุงอาหารกินได้หลายมื้อ เป็นการประหยัดไปในตัว
3. โรคประจำตัว
โรคประจำตัวอาจทำให้เบื่ออาหาร หรือไม่สะดวกในการหาอาหารกินได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้สูงอายุ
การแก้ปัญหา😇
อาจแก้ไขโดยทางครอบครัวอาจต้องจัดสรรเวลาให้มากขึ้น เพื่อใส่ใจดูแลผู้สูงอายุได้อย่างครบถ้วน เพราะโภชนาการอาหารที่ดี ก็ช่วยให้อายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง และมีความสุขในทุกวันได้
4. การติดแอลกอฮอล์
ปัญหาที่รุมเร้าต่างๆ หรือความเครียดจากการขาดคนดูแล ขาดรายได้
อาจทำให้ผู้สูงอายุหันหน้าเข้าหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ !!!
เมื่อผู้สูงอายุดื่มสุรามากทำให้ร่างกาย หันมาใช้พลังงานจากแอลกอฮอล์ ทำให้มีอาการเบื่อหน่าย และขาดสารอาหารอย่างอื่นที่จำเป็น ที่สำคัญเช่น วิตามินบี 1 กรดโฟลิค เป็นต้น
การแก้ปัญหา😇
ผู้สูงอายุควรหมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส อาจเข้าวัด สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพื่อให้จิตใจดีขึ้น คิดปลงกับเรื่องราวต่างๆ มากขึ้น และแสวงหาความสุขให้กับตนเองได้
ที่สำคัญ ...
ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด !!
ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด !!
ปัญหาการเบื่ออาหารนี้ อาจไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที อย่างไรก็ตาม ควรปล่อยให้ค่อยเป็นค่อยไป และฟื้นฟูการกินอาหารได้ประโยชน์ และครบถ้วน ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรงได้นะครับ
หมอเป็นกำลังใจให้ครับ
ด้วยรัก
นพ.เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ (หมอเก่ง) อายุรแพทย์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น