6 คุณประโยชน์จากการใช้ศิลปะมาช่วยร่วมในการรักษา
ซึ่งหมอเชื่อเหลือเกินว่า หากได้นำศิลปะเข้ามาร่วมรักษาแล้วเสมือนเป็นการนำเครื่องมือ ตัวช่วยที่สำคัญ เหมือนกุญแจที่จะเปิดประตูเชื่อมการรักษาทางการแพทย์ที่ทุกท่านได้รับอยู่แล้วไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้อย่างน่าประทับใจ ไม่มีพิษภัยประกอบด้วย ...
1. กล้าแสดงออก
การแสดงออกซึ่งตัวตนผ่านงานศิลปะ เป็นสิ่งที่ทรงพลังและมีความหมายอย่างมาก เป็นวิถีทางที่จะแชร์ประสบการณ์ในอดีตของท่าน แสดงการมีตัวตนและความเป็นตัวของตัวเองของผู้สูงวัย ไปยังผู้อื่นและสังคม โดยวิถีทางที่มีความหมาย มีหลักการ ศิลปะบำบัดนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่มีความบกพร่องทางความจำทั้งปัจจุบันและอดีต เอื้อให้อิสระทางความคิด เสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองได้อย่างดี
2. บอกเล่าแทนคำพูด
ผู้สูงวัยที่มีปัญหา มีอุปสรรคในการสื่อสาร การแสดงความเป็นตัวตนออกมาผ่านการพูด หากได้นำศิลปะมาใช้เป็นตัวกลาง ส่งเสริมให้ใช้ผ่านการมองเห็น นำไปสู่การแปลความหมายออกมาสื่อสารเป็นคำพูด เป็นวาจา สิ่งนี้เป็นกุญแจหลักที่สำคัญที่จะช่วยผู้สูงวัยที่มีปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ศิลปะยังช่วยเชื่อมผู้สูงวัยต่อคนอื่นๆในครอบครัวและสังคม อีกทั้งยังช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายได้เป็นอย่างดี
3. กระตุ้นสมอง
การได้พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ มาร่วมถก ร่วมกันคิด ต่อภาพงานศิลป์ ผลงานทางศิลปะ นอกจากจะช่วยในด้านการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นสนับสนุนและเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมการทำงานของสมองโดยทั่วอย่างเป็นระบบ การใช้สมองทั้งสองซีก ซ้ายขวา ประสานงานเป็นหนึ่งเดียวกัน
4. ใช้เวลาให้มีค่า เป็นประโยชน์
การใช้เวลาว่างผ่านการทำงานศิลปะ เป็นการเติมเต็มชีวิต เติมเต็มช่วงเวลาว่างได้อย่างวิเศษ อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจในผลงานซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้อีกด้วย
5. พัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อ
ในการทำกิจกรรมโดยใช้ศิลปะเป็นตัวเชื่อม สามารถจัดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น งานวาดเขียน งานปั้น งานหัตถกรรม งานจัดดอกไม้และอื่นๆอีกมากมาย
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยในการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างของร่างกาย ทั้งสมอง กล้ามเนื้อ ความคิด อารมณ์ เพื่อที่จะทำสิ่งต่างๆ ผลงานที่สำเร็จแสดงออกมาอย่างมีความหมาย
เทคนิคพวกนี้ช่วยลดความรู้สึกปวด ความรู้สึกกังวล ความเครียด โดยการเบี่ยงเบี่ยงความสนใจ เน้น focus ไปยังงานศิลปะอีกด้วย
6. บำบัดใจ
การนำเอาศิลปะมาบำบัดความรู้สึก ความเครียดกังวล และภาวะซึมเศร้า โดยกลไกที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ เปิดใจ เปิดความคิด การกำหนดจิตให้จดจ่อกับงานศิลป์
เป็นการช่วยยกระดับสภาพจิตให้สูงขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงวัยกิจกรรมรู้สึกสบาย ผ่อนคลายความกังวลและรู้สึกดีได้นั่นเอง บุคลากรที่มีความชำนาญ หากได้ร่วมกับทีมการรักษาพยาบาล ได้นำเอากิจกรรมศิลปะบำบัด เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ ผ่านสีสันที่สวยงาม กิจกรรมมุ่งหวังให้เพลิดเพลิน การทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะ การได้พูดคุยหรือแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ เป็นกลไกที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยสามารถใช้สมอง เชื่อมความคิด ตรรกะและอารมณ์ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ผสานการดูแลทางการแพทย์ เช่น ออกแบบกิจกรรมที่มุ่งหวัง กระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานงานระหว่างนิ้วแล้วสายตา การผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์
การที่เราจะนำเอาศิลปะบำบัดเข้ามาใช้ผสมผสานเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่นอกจากยา ทางการแพทย์ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และเสริมโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการดูแล อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความมั่นใจในตัวเองและที่สำคัญยังสามารถสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ (หมอเก่ง)
อายุรแพทย์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและกายภาพบำบัด
Line id: cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
ซึ่งหมอเชื่อเหลือเกินว่า หากได้นำศิลปะเข้ามาร่วมรักษาแล้วเสมือนเป็นการนำเครื่องมือ ตัวช่วยที่สำคัญ เหมือนกุญแจที่จะเปิดประตูเชื่อมการรักษาทางการแพทย์ที่ทุกท่านได้รับอยู่แล้วไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้อย่างน่าประทับใจ ไม่มีพิษภัยประกอบด้วย ...
1. กล้าแสดงออก
การแสดงออกซึ่งตัวตนผ่านงานศิลปะ เป็นสิ่งที่ทรงพลังและมีความหมายอย่างมาก เป็นวิถีทางที่จะแชร์ประสบการณ์ในอดีตของท่าน แสดงการมีตัวตนและความเป็นตัวของตัวเองของผู้สูงวัย ไปยังผู้อื่นและสังคม โดยวิถีทางที่มีความหมาย มีหลักการ ศิลปะบำบัดนั้นยังสามารถช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่มีความบกพร่องทางความจำทั้งปัจจุบันและอดีต เอื้อให้อิสระทางความคิด เสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองได้อย่างดี
2. บอกเล่าแทนคำพูด
ผู้สูงวัยที่มีปัญหา มีอุปสรรคในการสื่อสาร การแสดงความเป็นตัวตนออกมาผ่านการพูด หากได้นำศิลปะมาใช้เป็นตัวกลาง ส่งเสริมให้ใช้ผ่านการมองเห็น นำไปสู่การแปลความหมายออกมาสื่อสารเป็นคำพูด เป็นวาจา สิ่งนี้เป็นกุญแจหลักที่สำคัญที่จะช่วยผู้สูงวัยที่มีปัญหาดังกล่าวนั่นเอง ศิลปะยังช่วยเชื่อมผู้สูงวัยต่อคนอื่นๆในครอบครัวและสังคม อีกทั้งยังช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายได้เป็นอย่างดี
3. กระตุ้นสมอง
การได้พูดคุย วิพากษ์วิจารณ์ มาร่วมถก ร่วมกันคิด ต่อภาพงานศิลป์ ผลงานทางศิลปะ นอกจากจะช่วยในด้านการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นสนับสนุนและเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมการทำงานของสมองโดยทั่วอย่างเป็นระบบ การใช้สมองทั้งสองซีก ซ้ายขวา ประสานงานเป็นหนึ่งเดียวกัน
4. ใช้เวลาให้มีค่า เป็นประโยชน์
การใช้เวลาว่างผ่านการทำงานศิลปะ เป็นการเติมเต็มชีวิต เติมเต็มช่วงเวลาว่างได้อย่างวิเศษ อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจในผลงานซึ่งเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้อีกด้วย
5. พัฒนาทักษะการใช้กล้ามเนื้อ
ในการทำกิจกรรมโดยใช้ศิลปะเป็นตัวเชื่อม สามารถจัดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น งานวาดเขียน งานปั้น งานหัตถกรรม งานจัดดอกไม้และอื่นๆอีกมากมาย
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยในการเสริมสร้างการปฏิสัมพันธ์ระหว่างของร่างกาย ทั้งสมอง กล้ามเนื้อ ความคิด อารมณ์ เพื่อที่จะทำสิ่งต่างๆ ผลงานที่สำเร็จแสดงออกมาอย่างมีความหมาย
เทคนิคพวกนี้ช่วยลดความรู้สึกปวด ความรู้สึกกังวล ความเครียด โดยการเบี่ยงเบี่ยงความสนใจ เน้น focus ไปยังงานศิลปะอีกด้วย
6. บำบัดใจ
การนำเอาศิลปะมาบำบัดความรู้สึก ความเครียดกังวล และภาวะซึมเศร้า โดยกลไกที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ เปิดใจ เปิดความคิด การกำหนดจิตให้จดจ่อกับงานศิลป์
เป็นการช่วยยกระดับสภาพจิตให้สูงขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงวัยกิจกรรมรู้สึกสบาย ผ่อนคลายความกังวลและรู้สึกดีได้นั่นเอง บุคลากรที่มีความชำนาญ หากได้ร่วมกับทีมการรักษาพยาบาล ได้นำเอากิจกรรมศิลปะบำบัด เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ ผ่านสีสันที่สวยงาม กิจกรรมมุ่งหวังให้เพลิดเพลิน การทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะ การได้พูดคุยหรือแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ เป็นกลไกที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยสามารถใช้สมอง เชื่อมความคิด ตรรกะและอารมณ์ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ผสานการดูแลทางการแพทย์ เช่น ออกแบบกิจกรรมที่มุ่งหวัง กระตุ้นกล้ามเนื้อมือให้ประสานงานระหว่างนิ้วแล้วสายตา การผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์
การที่เราจะนำเอาศิลปะบำบัดเข้ามาใช้ผสมผสานเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่นอกจากยา ทางการแพทย์ ที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และเสริมโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการดูแล อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความมั่นใจในตัวเองและที่สำคัญยังสามารถสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
นพ. เก่งพงศ์ ตั้งอรุณสันติ (หมอเก่ง)
อายุรแพทย์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุและกายภาพบำบัด
Line id: cherseryhome
Facebook: cherseryhome
www.cherseryhome.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น